มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว ของ การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 เรียงตามประเทศและดินแดน

แผนที่ภาพเคลื่อนไหวการแพร่ของผู้ป่วย 2019-nCoV ยืนยันแล้วตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563

ณ 17 สิงหาคม ​2563​ เวลามาตรฐานกรีนิช 06.32 น. มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)​ ยืนยันแล้ว 21,828,929 คนใน 229 ประเทศและดินแดน[306] มีผู้เสียชีวิตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ​แล้วมากกว่า 773,114 คน และมีผู้หายป่วยแล้วมากกว่า คน 14,565,173 [307]มีจำนวน​ 14 ประเทศที่มีผู้เสียชีวิต​มากกว่า 10000​ รายขึ้นไปโดย ประเทศชิลี มีผู้เสียชีวิตรวม 10452 ราย เป็นอับดับที่ 19มีจำนวน​ 46 ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า​ 1,080 ราย​ ​ในวันดังกล่าว โดย ประเทศญี่ปุ่น รายงานรวม 1,088 ราย

หากรวมจำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อบน ไดมอนด์พรินเซส (เรือ) ซึ่งเสียชีวิตลงในโรงพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นอีก 13 ราย[308]จะได้จำนวนผู้เสียชีวิตรวม 1,101 ราย

มีจำนวน​ 64 ประเทศที่มีผู้เสียชีวิต​มากกว่า 500​ รายขึ้นไปโดย ประเทศคูเวต มีผู้เสียชีวิตรวม 501 ราย มีจำนวน 102 ประเทศ ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 รายขึ้นไปโดย ประเทศเลบานอน​มีผู้​เสียชีวิต 103 ราย เป็นอันดับที่ 102 ของโลก​ ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่ 1 ราย รวม 189 ประเทศ

ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในวันที่ 31 กรกฎาคม ​2563​ เวลามาตรฐานกรีนิช 23.57 น. เพิ่มขึ้น 281,287 รายภายในวันเดียว

ตั้งแต่วันที่ 31 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563​ ศูนย์​กลางแพร่ระบาดอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา​ มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับที่ 1 ของโลก และ มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของโลก และ ประเทศบราซิล​ มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับที่ 2 ของโลก และ มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 2 ของโลก

ในส่วนของประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ และ ผู้เสียชีวิตอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก ณ วันที่ 31 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563​ เวลามาตรฐานกรีนิช 23.02 นาฬิกา มี 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสเปน มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับที่ 9 ของโลก และ มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ประเทศอินเดีย มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับที่ 3 ของโลก และ มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ประเทศเม็กซิโก มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และมีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ประเทศเปรู ​มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นอันดับที่ 7 ของโลก จำนวนผู้เสียชีวิต เป็นอันดับที่ 9 ของโลก ประเทศอิหร่าน​ จำนวนผู้ติดเชื้อเป็นอันดับที่ 10 ของโลก จำนวนผู้เสียชีวิต เป็นอันดับที่ 10 ของโลก

อีกทั้งยังพบผู้ป่วยในเรือสำราญอีก 26 ลำ มีผู้เสียชีวิตบนเรือ เรือ เอ็มเอส ซานดัม 2 ราย และ ไดมอนด์พรินเซส (เรือ) 13 ราย​พื้นที่เหนือสุดของโลกที่พบผู้เสียชีวิต​ได้แก่แคว้นมูร์มันสค์ พื้นที่ใต้สุดของโลกที่พบผู้เสียชีวิตได้แก่แคว้นมากายาเนสและลาอันตาร์ตีกาชีเลนา

ณ​ วันที่​ 26-31 พฤษภาคม​ เมื่อเรียงตามจำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดในแต่ละประเทศ​ 26​ อันดับแรก พบว่า​ ​14​ ประเทศอยู่ในทวีปยุโรปคิดเป็น​ 53.85% โดยจำนวนประเทศ​ 26 อันดับแรกของโลกมีผู้เสียชีวิตมากกว่า​ 1,000​ รายของแต่ละประเทศ​

ต่อมา ณ วันที่ 28 กรกฎาคม เมื่อเรียงตามจำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดในแต่ละประเทศ​ 38​ อันดับแรก พบว่า​ ​15​ ประเทศอยู่ในทวีปยุโรปคิดเป็น​ 39.47% โดยจำนวนประเทศ​ 38 อันดับแรกของโลกมีผู้เสียชีวิตมากกว่า​ 1,615​ รายของแต่ละประเทศ​

ยุโรป

ในวันที่ 28 กรกฎาคม​ ศูนย์​กลางการแพร่ระบาดของทวีปยุโรป​อยู่ที่สหราชอาณาจักร ประเทศสเปน และ​ ประเทศอิตาลี

ผู้ป่วยรายแรก ๆ ของทวีปยุโรปมีรายงานจากในประเทศฝรั่งเศสและในประเทศเยอรมนี​รวมถึงประเทศอื่น ๆ โดยเป็นผู้ป่วยเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น จนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ได้เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศอิตาลี ซึ่งผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณตอนเหนือของมิลาน จากนั้นมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการแพร่กระจายของโรคไปทั่วทั้งทวีปยุโรป โดยหลังจากที่ประเทศมอนเตเนโกรได้รายงานการพบผู้ติดเชื้อเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ทำให้มีผู้ป่วยอยู่ในทุกประเทศเอกราชของทวีปยุโรป​

ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีประเทศขนาดเล็กที่สุดในโลกที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตได้แก่ที่ประเทศโมนาโก​ มีผู้เสียชีวิต 4 ราย​

ต่อเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ได้มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อในไอล์ออฟแมนซึ่งเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร และพบการติดเชื้อในดินแดน​ที่ยังมีปัญหาข้อพิพาทเรื่องอำนาจอธิปไตยของตนเองอย่าง​ทรานส์นีสเตรีย[309]​นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อในดินแดนปกครองตนเองอย่างหมู่เกาะโอลันด์​ทำให้การติดเชื้อพบในทุกประเทศเอกราชและของทวีปยุโรป ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก​ได้ประกาศให้ทวีปยุโรปเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของไวรัสหลังจากสถานการณ์ดีขึ้นในประเทศจีน[310][311] [307][312][313][314]

ณ​ วันที่​ 31 กรกฎาคม​ เวลามาตรฐานกรีนิช 23:15 น. ผู้เสียชีวิตในยุโรปจำนวนสูงสุด 17 อันดับแรก​ (นับเฉพาะทวีปยุโรป) ​ได้แก่ สหราชอาณาจักร 46,119 ราย​ ประเทศอิตาลี 35,141 ราย​ ประเทศฝรั่งเศส 30, 265 ราย ประเทศสเปน 28,445 ราย ​ประเทศรัสเซีย​ 13,963 ราย ​​ประเทศเบลเยียม ​9,840 ราย​ ประเทศเยอรมนี​ ​9,224 ราย ประเทศเนเธอร์แลนด์​ 6,147 ราย ประเทศสวีเดน​ 5,743 ราย​ ประเทศโรมาเนีย​ 2,343 ราย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ​1,981 ราย​ ​ประเทศไอร์แลนด์ ​1,763 ราย ประเทศโปรตุเกส 1,735 ราย ประเทศโปแลนด์ 1,716 ราย ประเทศยูเครน 1,693 ราย ประเทศมอลโดวา 778 ราย ประเทศออสเตรีย 718 ราย ทั้ง 17 ประเทศ ติดอันดับจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด 51 อันดับแรกของโลก โดยทั้ง​ 17​ ประเทศ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 700 รายขึ้นไป​ ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 700 ราย มีทั้งหมด 51 ประเทศ

ณ​ วันที่​ 31 กรกฎาคม ​ เวลามาตรฐานกรีนิช 23:57 น. ผู้ติดเชื้อในทวีปยุโรป ​2,871,890 ราย และเสียชีวิตรวม​ 203,319 ราย

ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตเพียงรายเดียวได้แก่ประเทศลิกเตนสไตน์

พื้นที่ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อได้แก่ หมู่เกาะอะราน​ Aran Islands​ สฟาลบาร์ยานไมเอน ราชอาณาจักรตาโวลารา ​และ ซีแลนด์ไม่พบผู้ติดเชื้อ ดินแดนที่พบผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตได้แก่ หมู่เกาะแฟโรหมู่เกาะโอลันด์นครรัฐวาติกันยิบรอลตาร์

ดินแดนอาณานิคม​

หมู่เกาะที่มีผู้เสียชีวิตเพียงรายเดียวได้แก่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน​(หมู่เกาะในทวีปอเมริกาเหนือ)​และหมู่เกาะเคย์แมน

ที่เกิร์นซีย์​มีผู้​เสียชีวิต ​13 ราย และไอล์ออฟแมน​ มีผู้​เสียชีวิต​ 24 ราย หมู่เกาะแชนเนล​มีผู้เสียชีวิต 44 ราย แซ็งปีแยร์และมีเกอลง ​มีผู้ติดเชื้อ 4 ราย หมู่เกาะเติกส์และเคคอส มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ที่เรอูนียง​ มีผู้​เสียชีวิต ​4 รายแองกวิลลามีผู้ติดเชื้อ3ราย

รัสเซีย

วันที่ 28 กรกฎาคม ประเทศรัสเซียมีจำนวนผู้ติดเชื้อ 818,120 ราย เป็นอันดับ 4 ของโลก และเสียชีวิต 13,354 ราย เป็นอันดับที่ 11 ของโลก

รัสเซียเป็นประเทศที่พบผู้เสียชีวิตใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุดโดยผู้ป่วยโควิดเสียชีวิต59รายที่แคว้นมูร์มันสค์

ทวีปอเมริกาเหนือ

วันที่ 28 กรกฎาคม​ สหรัฐอเมริกาประเทศเม็กซิโก และ ประเทศแคนาดา​ เป็นศูนย์กลาง​การแพร่ระบาดของทวีปอเมริกาเหนือ

ณ​ วันที่​ 28 กรกฎาคม ​ทวีปอเมริกาเหนือมีจำนวน​ 11 ประเทศที่มีผู้เสียชีวิต​ในแต่ละประเทศมากกว่า 100 ราย​ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาประเทศเม็กซิโก ประเทศแคนาดา​ ​ประเทศโดมินิกัน ประเทศปานามาประเทศฮอนดูรัสประเทศกัวเตมาลา ประเทศเอลซัลวาดอร์ ประเทศเฮติ ประเทศคอสตาริกา ประเทศนิการากัว

ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส

พบผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 4 คน โดยมีการยืนยันผู้ป่วยครั้งแรกจำนวน 2 คนเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ในเกาะเซนต์มาร์ติน ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส โดยตัวผู้ป่วยได้เดินทางมาจากฝรั่งเศสผ่านดินแดนซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ และแซ็ง-บาร์เตเลมี ซึ่งบุตรชายของผู้ป่วยได้เกิดการติดเชื้อขึ้น ทั้งคู่เดินทางกลับไปยังเกาะเซนต์มาร์ตินและถูกตรวจพบที่ท่าอากาศยาน และได้ถูกส่งตัวต่อไปกักโรคที่โรงพยาบาลบนเกาะ[315] ขณะที่ในกัวเดอลุป มีรายงานผู้ป่วยจำนวนหนึ่งคน[316]

ปานามา

ณ วันที่ 28 กรกฎาคม ประเทศปานามามีผู้เสียชีวิต 1,322 ราย เป็นอันดับที่ 39 ของโลก และมีผู้ติดเชื้อ 61,442 ราย เป็นอันดับที่ 39 ของโลก

กัวเตมาลา

ณ วันที่ 28 กรกฎาคม ประเทศกัวเตมาลา ​มีผู้เสียชีวิต 1,761 ราย อันดับที่ 35 ของโลก ผู้ติดเชื้อ 45,309 เป็นอันดับที่ 45 ของโลก

เม็กซิโก

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ประเทศเม็กซิโกมีการยืนยันผู้ป่วยครั้งแรกจำนวน 3 คน เป็นชายอายุ 35 ปี และ 59 ปีในเม็กซิโกซิตี และชายอายุ 41 ปีในรัฐซีนาโลอา ซึ่งทั้งสามมีผลการทดสอบเป็นบวกและได้ถูกกักโรคไว้ที่โรงพยาบาลและโรงแรม ตามลำดับ สองคนแรก ทั้งคู่ได้เดินทางไปยังเมืองเบอร์กาโม ประเทศอิตาลี และพำนักอยู่เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์[317][318][319][320] วันที่ 29 กุมภาพันธ์ มีการพบผู้ป่วยรายที่สี่ เป็นหญิงอายุ 20 ปี ซึ่งได้มีการเดินทางไปยังประเทศอิตาลีมา[321] วันที่ 1 มีนาคม มีการพบผู้ป่วยรายที่ 5 เป็นนักศึกษาในรัฐเชียปัส ซึ่งเพิ่งได้เดินทางกลับมาจากประเทศอิตาลี[322]ณ 28 กรกฎาคม มีผู้เสียชีวิต 43,680 ราย เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีจำนวนผู้ติดเชื้อ 390,516 ราย เป็นอันดับที่ 6 ของโลก

แคนาดา

ณ วันที่ 4 มีนาคม มีรายงานผู้ป่วยโคโรนาไวรัสในประเทศแคนาดา 33 คน โดยแบ่งเป็นพบในบริติชโคลัมเบีย 8 คน รัฐออนแทรีโอ 24 คน และรัฐควิเบก 1 คน[323] ผู้ป่วยทุกคนมีประวัติการเดินทางไปยังประเทศที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก และรักษาหายแล้วจำนวน 8 คน (แบ่งเป็นบริติชโคลัมเบีย 5 คน และรัฐออนแทรีโอ 3 คน)[324] ณ 28 กรกฎาคม มีผู้เสียชีวิต 8,901 ราย มากเป็นอันดับที่ 15 ของโลก ไม่พบผู้ป่วยที่เกาะแบฟฟิน จำนวนผู้ติดเชื้อ 114,597 ราย เป็นอันดับที่ 21 ของโลก

สหรัฐ

วันที่ 21 มกราคม สหรัฐรายงานพบผู้ป่วยรายแรก เป็นชายอายุ 35 ปีที่อาศัยอยู่ในเทศมณฑลสโนโฮมิช รัฐวอชิงตัน ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับมาจากอู่ฮั่นที่ท่าอากาศยานนานาชาติซีแอตเทิล–ตาโคมา ในวันที่ 15 มกราคม

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ มีการพบผู้ป่วย 66 คน[325] และมีผู้หายป่วยจำนวน 7 คน วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐรายงานพบผู้ป่วยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งอาจเป็นกรณีแรกของการติดต่อกันภายในประเทศ[313] วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ทางการรัฐวอชิงตันแถลงยืนยันว่าพบผู้เสียชีวิตรายแรกจากโรคโคโรนาไวรัสในสหรัฐ[326]

วันที่ 2 มีนาคม เทศมณฑลคิง รัฐวอชิงตัน ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมีรายงานพบผู้ป่วยยืนยัน 14 คน และยังมีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมอีก 5 คน[327] ศูนย์อนามัยออรีกอนยังได้รายงานว่าพบผู้อาจติดเชื้อใหม่จำนวนสามรายในรัฐด้วย ซึ่งเป็นชายในเทศมณฑลอูมาทิลลา ซึ่งเข้ารับการรักษาตัวในวัลลาวัลลา รัฐวอชิงตัน[328]ที่เกาะไซปัน หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ผู้ติดเชื้อ 14 ราย เกาะกวม เสียชีวิต 5 ราย รัฐฮาวาย เสียชีวิต 17 ราย

ณ 28 กรกฎาคม มีผู้เสียชีวิต 150,444 ราย มากเป็นอันดับ 1 ของโลก และมีจำนวนผู้​ติดเชื้อ​ ​4,433,410 ราย มากเป็นอันดับ 1 ของโลกเช่นเดียวกัน

[329]ณ 31 กรกฎาคม ​2563​ เวลามาตรฐานกรีนิช 23.55 น. มีผู้ติดเชื้อ​รายใหม่ 70,033 ราย

สาธารณรัฐโดมินิกัน

วันที่ 1 มีนาคม มีรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสรายแรกในประเทศโดมินิกัน และภูมิภาคแคริบเบียน เป็นชายอายุ 62 ปีจากประเทศอิตาลี ซึ่งเดินทางเข้าประเทศในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ และเกิดอาการป่วยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้ป่วยผู้นี้ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลทหารรามอนลารา[330]

วันที่ 28 กรกฎาคม มีผู้เสียชีวิต 1,083 ราย เป็นอันดับที่ 44 ของโลก ติดเชื้อ 64,156 ราย เป็นอันดับที่ 37 ของโลก

ฮอนดูรัส

ณ​ วันที่​ 28 กรกฎาคม ประเทศฮอนดูรัส​ มีผู้เสียชีวิต​ 1,116 ราย เป็นอันดับที่​ 50 ของโลก มีผู้ติดเชื้อ 39,276 ราย อันดับที่ 43 ของโลก

อาร์กติก

วันที่ 23 กรกฎาคม ศูนย์กลาง​การแพร่ระบาดในพื้นที่วงกลมอาร์กติก ได้แก่แคว้นมูร์มันสค์ (Murmansk Oblast) ​มีผู้ติดเชื้อ8,975ราย หายแล้ว 4,835 และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 59 ราย เทศบาลทรุมเซอ และ ​เทศมณฑลฟินมาร์ก ประเทศนอร์เวย์​ พบผู้ติดเชื้อ 258 รายรัฐอะแลสกา เฉพาะพื้นที่ใน วงกลมอาร์กติก ได้แก่ เขตนอร์ทสโลป (North Slope Borough)​ ติดเชื้อ​ 3 ราย​ และ เขตนอร์ทเวสต์ อาร์กติก​ (Northwest Arctic Borough)​ ติดเชื้อ 4 ราย รวมจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 9,240 ราย

ดินแดนในอาร์กติก​ที่อยู่ในวงกลมอาร์กติก มีรายงานว่าพบผู้ป่วยที่โรงงานแก๊สธรรมชาติเหลว ในหมู่บ้านเบโลคาเมนกา (Belokamenka) ในเมือง มูร์มันสค์ ในประเทศรัสเซีย ราว 200 ราย[331][332]

ทวีปอเมริกาใต้

วันที่ 28 กรกฎาคม​ ศูนย์​กลางการแพร่ระบาดของทวีปอเมริกาใต้ อยู่ที่ ประเทศบราซิล ประเทศเปรู และ ประเทศชิลี

พื้นที่ที่ไม่พบผู้ติดเชื้อในทวีปคือ เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช พื้นที่ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด​ ณ​ วันที่​ 28 กรกฎาคม​ ​ได้แก่ที่ ประเทศบราซิล 87,679 ราย อันดับที่ 2 ของโลกรองลงมาได้แก่ ประเทศเปรู 18,418 ราย อันดับที่ 9​ ของโลก ​ประเทศชิลี​ 9,187 ราย อันดับที่​ 14 ของโลก ประเทศโคลอมเบีย​ 8,777 ราย​ อันดับที่ 16​ ของโลก ประเทศเอกวาดอร์ 5,532 ราย อันดับที่​ 22 ของโลกประเทศอาร์เจนตินา​ 3,059 ราย อันดับที่ 27​ ของโลก ​ประเทศโบลิเวีย ​2,583 ราย ​อันดับที่ 37 ของโลก ​ ประเทศเวเนซุเอลา 142 ราย ​อันดับที่​ 83 ของโลกจำนวนประเทศที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า​ 2,500 ราย มีทั้งหมด​ ​7 ประเทศ​

ประเทศชิลี

ณ​ วันที่​ 28 กรกฎาคม ทั้งประเทศมีผู้ติดเชื้อ 347,923 ราย อันดับที่ 8 ของโลก เสียชีวิต 9187 ราย อันดับที่ 14 ของโลกประเทศชิลีเป็นประเทศที่พบผู้เสียชีวิตใกล้แอนตาร์กติกา​มากที่สุดโดยพบที่ แคว้นมากายาเนสและลาอันตาร์ตีกาชีเลนา​ มีผู้เสียชีวิต 18 ราย[333]

ประเทศบราซิล

ในวันที่​ 28 กรกฎาคม​ ​จำนวน​ผู้​ติดเชื้อ​ 2,443,480 ราย เป็นอันดับที่​ 2 ของโลก และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 87,679​ ราย​ เป็นอันดับที่​ 2 ของโลก

ประเทศเปรู

ในวันที่​ 28 กรกฎาคม​ ​จำนวน​ผู้​ติดเชื้อ​ 389,717 ราย เป็นอันดับที่​ 7 ของโลก และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 18,418​ ราย​ เป็นอันดับที่​ 9 ของโลก

ทวีปแอนตาร์กติกา

พบผู้ป่วยบนเรือสำราญ Australian cruise ship Greg Mortimer ซึ่งติดเชื้อบนเรือขณะท่องเที่ยวทวีปแอนตาร์กติกา ผู้ป่วยได้เดินทางท่องเที่ยวที่ เกาะคิงจอร์จ (King George Island) และเกาะเซาท์เชตแลนด์ (South Shetland Islands) ส่งผลให้ทั้งสองเกาะมีผู้ติดเชื้อซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางออกจากเกาะแล้ว 165 ราย[334]

เอเชีย

ในวันที่ 28 กรกฎาคม ศูนย์กลางการแพร่ระบาดของทวีปเอเซีย อยู่ที่ ​ประเทศอินเดีย ​ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ เป็นอันดับ 3 ของโลก และผู้เสียชีวิต เป็นอันดับ 6 ของโลก ประเทศอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ เป็นอันดับ 11 ของโลก และผู้เสียชีวิต เป็นอันดับ 10 ของโลก และ ประเทศปากีสถาน​ ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ เป็นอันดับ 12 ของโลก และผู้เสียชีวิต เป็นอันดับ 19 ของโลก

ประเทศเติร์กเมนิสถานเกาะคริสต์มาส หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) ​และประเทศเกาหลีเหนือ​ ไม่พบผู้ติดเชื้อ ประเทศลาวประเทศกัมพูชาประเทศติมอร์-เลสเต มองโกเลียมาเก๊า ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต​

ณ​ วันที่​ 28​ กรกฎาคม​ ​จำนวนประเทศที่มีผู้เสียชีวิต​มากกว่า 1,000 ราย มีจำนวน 12 ประเทศ​ ได้แก่ ประเทศอิหร่านประเทศจีนประเทศตุรกีประเทศอินเดียประเทศอินโดนีเซียประเทศปากีสถานประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศบังคลาเทศ ประเทศอิรักประเทศซาอุดีอาระเบีย ประเทศคีร์กีซสถาน ประเทศอัฟกานิสถานและ​จำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 500 ราย มี 15 ประเทศ ​โดยเพิ่ม ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอาร์มีเนีย ประเทศคาซัคสถานและผู้เสียชีวิตทั้งหมดของทวีปเอเซียจำนวน 91,247 ราย

กัมพูชา

แผนที่การแพร่ระบาดในประเทศกัมพูชา
(ณ วันที่ 22 มีนาคม 2563):
  พบผู้ป่วยยืนยันแล้ว
  พบผู้ต้องสงสัย

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ กัมพูชายืนยันพบผู้ป่วยครั้งแรกในเมืองพระสีหนุ เป็นชายชาวจีนอายุ 60 ปี เดินทางไปยังเมืองนี้จากนครอู่ฮั่นพร้อมครอบครัว[335] โดยคนในครอบครัวของเขาถูกกักไว้ พวกเขาไม่มีการแสดงอาการของไวรัส ขณะที่ชายคนดังกล่าวถูกแยกไว้เพื่อรักษาที่โรงพยาบาลส่งต่อพระสีหนุ (Preah Sihanouk Referral Hospital)[336] มีรายงานว่าอาการของเขาคงที่แล้ว[337][338] ณ​ 28 กรกฎาคม​ มีผู้ติดเชื้อ 225 ราย และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต​

กาตาร์

กระทรวงสาธารณสุขแห่งกาตาร์ รายงานว่าพบผู้ป่วยไวรัสรายแรกในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ผู้ป่วยเป็นชาวกาตาร์ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศอิหร่าน[339][340][341]ณ​ 28 กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต 165 ราย และมีผู้ติดเชื้อ​ 109,597 ราย

เกาหลีใต้

เกาหลีใต้มีผู้ป่วยในวันที่ 28 กรกฎาคม​ จำนวน​ 14,175 ราย และเสียชีวิต 299 ราย เป็นการระบาดที่ใหญ่ที่สุดนอกประเทศจีน[342] ผู้ป่วยรายแรกของการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในประเทศเกาหลีใต้ ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563[343] วันที่ 19 กุมภาพันธ์ จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 20 คน และวันที่ 20 เพิ่มขึ้นอีก 53 คน ทำให้มีผู้ป่วยรวมขณะนั้นที่ 104 คน ตามการรายงานของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งเกาหลีใต้ (KCDC) ผู้ป่วยรายใหม่ส่วนมากมาจาก "ผู้ป่วยรายที่ 31" ซึ่งเข้าร่วมชุมนุมที่โบสถ์ชินช็อนจีในแดกู[344]

คูเวต

ประเทศคูเวตในปัจจุบันเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในโลกอาหรับ และมีจำนวนผู้ป่วยเป็นรองเพียงประเทศอิหร่านในเอเชียตะวันตก โดยมีผู้ป่วยในประเทศถูกพบแล้ว ณ วันที่​ 28 กรกฎาคม​ ​จำนวน 64,379 คน[345]เสียชีวิต 438 ราย

จอร์เจีย

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ประเทศจอร์เจีย​ยืนยันพบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกของประเทศ เป็นชายอายุ 50 ปี ซึ่งเดินทางมาจากประเทศอิหร่าน โดยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยายาลโรคติดเชื้อในทบิลีซี ซึ่งผู้ป่วยรายนี้กลับเข้าสู่จอร์เจียทางพรมแดนประเทศอาร์เซอร์ไบจานโดยรถแท็กซี[346][347][348][349]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ มีการยืนยันว่าผู้หญิงชาวจอร์เจียอายุ 31 ปีที่เพิ่งเดินทางไปประเทศอิตาลีมามีผลการทดสอบเป็นบวก และเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยายาลโรคติดเชื้อในทบิลีซี[349] นอกจากนั้นยังมีผู้ถูกกักกันอยู่ณโรงพยาบาลทบิลิซีอีก 29 คน โดยที่ อามิรัน กัมเกรลิเซ รัฐมนตรีอนามัยระบุว่าพวกเขาเป็นบุคคลที่ "มีความเป็นไปได้สูง" ที่อาจมีไวรัสอยู่[350]ณ 28 กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต 16 ราย และมีผู้ติดเชื้อ 1,137 ราย

จอร์แดน

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ประเทศจอร์แดนริเริ่มการห้ามบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศอิหร่านเข้าสู่ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว[351] ประเทศจอร์แดนได้ทำการคัดกรองทุกคนที่เดินทางเข้าสู่ประเทศผ่านทางท่าอากาศยาน โดยมีการตรวจสอบทรวงอกและลำคอตลอดจนอุณหภูมิร่างกาย ส่วนชาวจอร์แดนที่มีผลทดสอบเป็นบวกจะถูกกักโรคไว้เป็นเวลา 2 สัปดาห์[352]

วันที่ 2 มีนาคม นายกรัฐมนตรีจอร์แดนแถลงว่าพบผู้ป่วยโคโรนาไวรัสรายแรกในประเทศ[353][354] เป็นชาวจอร์แดนที่เดินทางกลับมาจากประเทศอิตาลี เมื่อสองสัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มใช้มาตรการกักโรคชาวจอร์แดนที่เดินทางกลับมาจากประเทศอิตาลี[353][355] ณ 28 กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต 11 ราย และมีผู้ติดเชื้อ 1,176 ราย

จีนแผ่นดินใหญ่

ณ วันที่ 28 กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต 4,634 ราย เป็นอันดับที่​ 25 ของโลก จำนวน​ผู้ติดเชื้อ 83,891 ราย เป็นอันดับที่ 26 ของโลก

ซาอุดีอาระเบีย

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ประเทศซาอุดีอาระเบียประกาศระงับการเข้าประเทศเป็นการชั่วคราวสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะห์ในเมกกะ หรือผู้ที่ต้องการเดินทางไปเข้าชมมัสยิดอันนะบะวี รวมถึงนักท่องเที่ยว ต่อมากฎนี้ได้ขยายไปครอบคลุมนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่[356]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งซาอุดีอาระเบีย ประกาศระงับการเข้าสู่ประเทศของพลเมืองในประเทศสมาชิกสภาความร่วมมืออ่าว (GCC) ยังเมกกะและมะดีนะหฺเป็นการชั่วคราว โดยพลเมืองของประเทศกลุ่ม GCC ที่พำนักอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบียนานเกิน 14 วันติดต่อกัน และไม่ปรากฏอาการใด ๆ อันแสดงถึงโรคโควิด-19 นั้นจะอยู่นอกเหนือกฎดังกล่าว[356]

วันที่ 2 มีนาคม ทางการซาอุดีอาระเบียยืนยันว่าพบผู้ป่วยเป็นรายแรก เป็นชาวซาอุดีที่เดินทางกลับมาจากประเทศอิหร่านผ่านทางประเทศบาห์เรน[357]ณ 28​ กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต 2,760 ราย และมี​ผู้​ติดเชื้อ​ 268,934 ราย

ญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นยืนยันผู้ป่วยรายแรกเป็นชาวจีนอายุ 30 ปี ซึ่งเคยมีการเดินทางไปยังอู่ฮั่นมาก่อน มีอาการเมื่อวันที่ 3 มกราคม และกลับเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 6 มกราคมณ วันที่ 28 กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต ​996 ราย​ และมีผู้​ติดเชื้อ​ 29,989 ราย ที่ประเทศญี่ปุ่นมีผู้เสียชีวิตอีก 14 ราย บนเรือสำราญ แต่มีผู้เสียชีวิตที่ประเทศญี่ปุ่นเพียง 13 ราย เนื่องจากอีกหนึ่งราย เสียชีวิตในโรงพยาบาลที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งไม่ได้นับรวมไว้กับตัวเลขที่รายงาน ในเว็บไซด์ worldometer

ไต้หวัน

ประเทศไต้หวันพบผู้ป่วยรายแรกในวันที่ 21 มกราคม[358]ณ​​วันที่​ 28 กรกฎาคม ​มีผู้เสียชีวิต​รวม 7 ราย และผู้ติดเชื้อ 462 ราย

ตุรกี

ประเทศตุรกีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดไวรัสโคโรนารายแรก เป็นผู้หญิงชาวจีนอุย อายุ 32 ปีที่เดินทางมาจากอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งมีผลตรวลหา SARS-CoV-2 เป็นบวก ทำให้ชาวตุรกีถูกกักโรค โดยถูกส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาลในอิสตันบูล28 กรกฎาคม ประเทศตุรกีมีผู้เสียชีวิต 5,630 ราย อันดับที่ 21 ของโลก และมีจำนวนผู้​ติดเชื้อ ​227,019 ราย มากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก

ไทย

วันที่ 13 มกราคม ประเทศไทยพบผู้ป่วยรายแรก ซึ่งเป็นการพบผู้ป่วยนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรก[359][360][361] วันที่ 1 มีนาคม มีรายงานผู้เสียชีวิตเป็นรายแรก[362]แม้ทางการประเทศไทยจะไม่นับจังหวัดสตูลเป็นพื้นที่มีโรคระบาดแต่ในวันที่ 6 เมษายน เที่ยวบินจากจาการ์ตาที่ทำการบินลงที่ท่าอากาศยานหาดใหญ่ นำผู้ติดเชื้อเข้าสู่จังหวัดจำนวน 18 ราย​

เกาะที่มีขนาดใหญ่ 5 อันดับแรกของประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อ 3 เกาะณ​ 15​ พฤษภาคม​ เฉพาะที่ภูเก็ต ​มีผู้ติดเชื้อ 224 ราย เสียชีวิต 3 ราย​ซึ่งจำนวนผู้​เสียชีวิต​มากเป็นอันดับ 3 ของทั้งประเทศ​ รองจากกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ​

เกาะสมุย​ ติดเชื้อ 7 รายส่วนเกาะพะงัน ซึ่งมีขนาดใหญ่​เป็นอันดับที่ 5 ของประเทศไทย ติดเชื้อ 1 ราย ยอดรวมทั้งประเทศ​ ​ณ​ วันที่​ 28 กรกฎาคม​ ​เสียชีวิต 58 ราย และมีผู้ติดเชื้อ 3,295 ราย

ทาจิกิสถาน

ประเทศทาจิกิสถาน ในวันที 30 เมษายน พบติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา เป็นผู้ชายชาวทาจิกิสามคนกลับมาจากประเทศอินเดีย มีผู้ป่วย 15 ราย วันที่ 2 พฤษภาคม พบผู้เสียชีวิตรายแรก

ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม ทาจิกิสถานได้ประกาศปิดพรมแดนที่ติดกันอัฟกานิสถาน ณ 28 กรกฎาคม มีผู้เสียชีวิต 60 ราย​ ผู้ติดเชื้อ 7,235 ราย

เนปาล

แผนที่การแพร่ระบาดในประเทศเนปาล
(ณ วันที่ 26 มกราคม 2563):
  พบผู้ป่วยยืนยันแล้ว
  พบผู้ต้องสงสัย

นักศึกษาชาวเนปาลซึ่งเดินทางกลับมาจากนครอู่ฮั่นและถูกกักโรคอยู่ในกาฐมาณฑุ[363] กลายเป็นผู้ป่วยรายแรกของประเทศเนปาลและภูมิภาคเอเชียใต้ในวันที่ 24 มกราคม หลังจากตัวอย่างถูกส่งไปยังศูนย์ร่วมองค์การอนามัยโลกในฮ่องกง[364][365] และถูกเลิกกักตัวหลังจากที่อาการดีขึ้น[366]ณ​ วันที่​ 28 กรกฎาคม ​รายงานผู้เสียชีวิต ​48 ราย และมีผู้ติดเชื้อ 18,752 ราย

บาห์เรน

ณ​ วันที่​ 28 กรกฎาคม มีผู้ติดเชื้อ 39,482 ราย และเสียชีวิต 141 ราย

บังคลาเทศ​

ณ วันที่ 28 กรกฎาคม​ ประเทศบังคลาเทศ​มีผู้เสียชีวิต ​2965 ราย เป็นและมีผู้ติดเชื้อ 226,225 ราย

เยเมน

ประเทศเยเมน ในวันที่ 10 เมษายน พบผู้ป่วย 1 ราย ในเมืองฮาดราเมาต์ณ​ ​วันที่​ 28 กรกฎาคม​ ผู้เสียชีวิต 483 ราย ติดเชื้อ 1691 ราย

รัฐชัมมูและกัศมีร์

​ณ วันที่ 1​ กรกฎาคม​ ​รัฐชัมมูและกัศมีร์ มีผู้ติดเชื้อ 7,237 ราย และเสียชีวิต 95 ราย

ปากีสถาน

แผนที่การแพร่ระบาดในประเทศปากีสถาน
(ณ วันที่ 9 เมษายน 2563):
  พบผู้ป่วยยืนยันแล้ว
  พบผู้ต้องสงสัย

รัฐบาลปากีสถานเริ่มใช้มาตรการคัดกรองผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานในอิสลามาบาด การาจี ลาฮอร์ และเปศวาร์ เพื่อป้องกันการเข้าสู่ประเทศของไวรัสโคโรนา[367] นอกจากนี้ปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ยังประกาศใช้มาตรการคัดกรองผู้โดยสารก่อนเดินทางขึ้นเครื่องในเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งด้วย[368] วันที่ 27 มกราคม สภานิติบัญญัติกิลกิต-บัลติสตันประกาศหน่วงเวลาการเปิดด่านแนวเขตแดนจีน–ปากีสถานที่ช่องผ่านแดนคุนเยรับในเดือนกุมภาพันธ์[369] และยังประกาศปิดพรมแดนปากีสถาน–อิหร่านด้วย[370]

วันที่ 1 มีนาคม มีรายงานพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มเติมในการาจีและอิสลามาบาด ทำให้จำนวนผู้ป่วยของประเทศเพิ่มเป็นสี่ราย[371] ส่วนผู้ป่วยรายแรกและรายที่สองมีประวัติการเดินทางไปยังประเทศอิหร่าน ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเชื้อว่าเขาติดเชื้อ[372]

วันที่ 3 มีนาคม ทางการปากีสถานยืนยันพบผู้ป่วยรายที่ห้า ในแคว้นสินธ์ ผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับจากการแสวงบุญที่ประเทศอิหร่านจำนวน 960 ราย ถูกกักโรคในทันที[373]ณ 28 กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต 5,842 ราย มีผู้ติดเชื้อ 274,289 ราย

ฟิลิปปินส์

ผู้ป่วยรายแรกของประเทศฟิลิปปินส์ ได้รับการยืนยันในวันที่ 30 มกราคม[374] วันที่ 5 กุมภาพันธ์ กรมอนามัย (DOH) ได้มีการยืนยันผู้ป่วยรายที่สาม[375]ณ 28 กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต 1945 ราย ผู้ติดเชื้อ 82,040 ราย

มาเก๊า

​ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม​ มีผู้ติดเชื้อ 46 ราย


มาเลเซีย

ชาวจีนแปดคนถูกกักตัวอยู่ที่โรงแรมในรัฐยะโฮร์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม หลังจากที่มีการติดต่อกับผู้ป่วยในประเทศสิงคโปร์[376] แม้จะมีรายงานในตอนแรกว่าผลการทบสอบให้ผลเป็นลบ[377] แต่ต่อมาในวันที่ 25 มกราคม มีการยืนยันว่าทั้งสามคนติดเชื้อ และถูกส่งตัวไปกักไว้ที่โรงพยาบาลสุไหงบูโลห์ในรัฐเซอลาโงร์[378][379]

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ผู้ป่วยรายที่สิบห้าซึ่งเป็นชาวจีนได้หายป่วยอย่างสมบูรณ์ นับเป็นผู้ป่วยที่หายป่วยเป็นรายที่แปดของประเทศมาเลเซีย[380] ต่อมาก็มีรายงานว่าชาวมาเลเซียอีกคนที่ติดเชื้อก็หายดีเป็นรายที่ 9[381] ณ วันที่ 28 ​กรกฎาคม​ มีผู้ติดเชื้อ 8,904 ราย และมีผู้เสียชีวิต 124 ราย

เลบานอน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ประเทศเลบานอนยีนยันพบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรก เป็นหญิงอายุ 45 ปีที่เดินทางมาจากกอม ประเทศอิหร่าน ซึ่งมีผลตรวจหา SARS-CoV-2 เป็นบวก โดยถูกส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาลในเบรุต[382]​ ณ วันที่ 28 กรกฎาคม​ มีผู้ติดเชื้อ 3,882 ราย และเสียชีวิต ​51 ราย

เวียดนาม

ผู้ป่วยยืนยันสองรายแรกเข้าโรงพยาบาลในวันที่ 22 มกราคม และรับการรักษาที่โรงพยาบาลโช่เซย ในนครโฮจิมินห์ กรณีแรกเป็นชาวจีนที่เดินทางจากนครอู่ฮั่นไปฮานอย เพื่อเยื่ยมลูกชายที่อาศัยอยู่ในเวียดนาม และรายที่สองคือลูกชายของเชื่อว่าติดโรคจากผู้เป็นพ่อ[383] หลังจากที่ยืนยันแล้ว รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สั่งให้เปิดใช้งานศูนย์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดฉุกเฉิน[384]

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ บิดาของผู้ป่วยดังกล่าวมีผลการทดสอบเป็นบวก และกลายเป็นผู้ป่วยรายที่สิบหก[385] วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พวกเขาทั้งหมดได้หายป่วย[386] ​ณ วันที่ 31 กรกฎาคม​ ​มีผู้ติดเชื้อ 531 ราย เสียชีวิต 1 ราย

ศรีลังกา

​ณ วันที่ 10 สิงหาคม มีผู้เสียชีวิต 11 ราย มีผู้ติดเชื้อ 2844 ราย

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ผู้ป่วยรายแรกของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้รับการยืนยันในวันที่ 29 มกราคม พรัอมกับครบครัว ของ ชาวอู่ฮั่น[387][388]​ เป็นผู้หญิงชราชาวจีน อายุ 72 ปี และ ลูกชาย อายุ 34 ปี ที่กรณีแรกเป็นชาวจีนเดินทางมาจากนครอู่ฮั่นไปนครดูไบ ซึ่งมีผลตวรจหา SASR-Cov-2 ถูกกักโรค โดยถูกส่งตัวไปเข้าโรงพยาบาลในดูไบ

ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ หลังจากชาวเอมิเรตส์ได้ติดเชื้อโรคโควิด-19 เพื่อลูกสาวที่อาศัยอยู่ที่ดูไบ และรายที่สามคือลูกสาวของเชื้อว่าติดโรคกับแม่

วันที่ 2 มืนาคม กรุงอาบูดาบียีนยันพบผู้ป่วยโควิด-19 เป็นผู้ชายชาวรัสเซีย อายุ 38 ปี และผู้หญิงชาวรัสเซีย อายุ 36 ปี กรณีแรกเป็นชาวรัสเซียเดินทางจากกรุงมอสโกไปอาบูดาบี ชาวรัสเซียสองคนถูกกักตัวอยู่ที่โรงแรมในอาบูดาบี ต่อมา วันที่ 25 มืนาคม รัฐบาลเอมิเรตส์ได้โอกาศปัญหากับ อาบูดาบีและดูไบ จากปิดชั่วคราว เช่า รันอาหาร รันกาแฟ หัง โรงภาพยนตร์ และทั้งหมด ยกเว็น โรงพยาบาล และรันขายยา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศปิดพรมแดนที่ตัดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย ณ วันที่ 28 กรกฎาคม ​ มีผู้ติดเชื้อ 59,177 ราย เสียชีวิต 345 ราย

สิงคโปร์

ผู้ป่วยรายแรกในประเทศสิงคโปร์ได้รับการยืนยันในวันที่ 23 มกราคม[389] ต่อมามีการรายงานพบผู้ป่วยในท้องถิ่นเป็นรายแรกเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ร้านย่งไทฮั่ง (Yong Thai Hang) เป็นร้านค้าที่ให้บริการนักท่องเที่ยวชาวจีนได้รับการระบุเป็นสถานที่ที่เกิดการติดเชื้อ เนื่องจากมีผู้หญิงจำนวนสี่คนที่ไม่เคยเดินทางไปยังประเทศจีนเกิดติดเชื้อไวรัสขึ้น[390]

วันที่ 4 มีนาคม มีผู้ป่วยในประเทศรวม 112 คน[391]ณ วันที่ 28​ กรกฎาคม มีผู้ป่วย 50,838 ราย จำนวนผู้เสียชีวิต 27 ราย

อัฟกานิสถาน

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 มีพลเมืองในเฮรัตอย่างน้อยสามคน ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับมาจากกอม ถูกต้องสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ตัวอย่างเลือดถูกส่งไปยังคาบูลเพื่อทดสอบเพิ่มเติม[392] ภายหลังอัฟกานิสถานได้ประกาศปิดพรมแดนที่ติดกับอิหร่าน

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ มีการยืนยันผู้ป่วยรายแรก ซึ่งเป็นหนึ่งในสามคนจากเฮรัตดังกล่าว โดยเป็นชายอายุ 35 ปีซึ่งมีผลการทดสอบ SARS-CoV-2 เป็นบวก[393] ณ​ 28​ กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต​ ​1269 ราย ผู้ติดเชื้อ 36,263 ราย

อาเซอร์ไบจาน

ประเทศอาเซอร์ไบจานมีการยืนยันผู้ป่วยรายแรกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ จากรัสเซีย ซึ่งเคยเพิ่งเดินทางมาจากประเทศอิหร่าน[394] และยังมีการพบผู้ป่วยเพิ่มเติมอีกสองรายในประเทศ ทั้งหมดถูกกักโรค ต่อมาอาเซอร์ไบจานได้ประกาศปิดชายแดนที่ติดกับประเทศอิหร่าน[395] ​​ณ วันที่ 28 กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต ​423 ราย ผู้ติดเชื้อ 30,446 ราย

คาซัคสถาน

ประเทศคาซัคสถานยีนยันพบผู้ป่วยโคโรนาไวรัสรายในวันที่ 13 มีนาคม จากจีน ซึ่งเคยเพิ่งเดินทางมาจากประเทศตุรกี และยังมีการพบผู้ป่วยเพิ่มอีกสองรายในประเทศ ทั้งหมดถูกกักโรค ต่อมาคาซัคสถานได้ประกาศปิดพรมแดนที่ติดกับประเทศรัสเซีย​ ​ณ วันที่ 28 กรกฎาคม​ ​มีผู้​ติดเชื้อ​ 83,122 ราย ​และผู้​เสียชีวิต ​585 ราย

อาร์มีเนีย

ประเทศอาร์มีเนียยืนยันพบผู้ป่วยโคโรนาไวรัสรายแรกในช่วงปลายของวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1 มีนาคม เป็นชาวอาร์มีเนียอายุ 29 ปีที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศอิหร่านและมีรายงานยืนยันผลทดสอบเป็นบวก ภริยาของบุคคลนี้ได้ถูกนำไปทดสอบเช่นกัน โดยผลออกมาเป็นลบ นายกรัฐมนตรีนิกอล ปาชินยันแถลงว่าผู้ป่วยนั้น "มีอาการดีขึ้นแล้ว" นอกจากนี้ยังมีผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยประมาณ 30 คนถูกนำไปทดสอบและจะถูกกักโรค ซึ่งก่อนหน้านี้อาร์มีเนียได้ประกาศปิดพรมแดนที่ติดกับประเทศอิหร่านไปแล้ว[396]​ณ วันที่ 28 กรกฎาคม ​มีผู้เสียชีวิต ​711 ราย และมี​ผู้ติดเชื้อ 37,390 ราย

อินเดีย

แผนที่การแพร่ระบาดในประเทศอินเดีย
(ณ วันที่ 9 เมษายน 2563):
  พบผู้ป่วยยืนยันแล้ว
  พบผู้ต้องสงสัย

รัฐบาลอินเดียออกคำแนะนำการเดินทางแก่ประชาชน โดยเฉพาะกับนครอู่ฮั่น ซึ่งมีนักศึกษาแพทย์ชาวอินเดียกำลังศึกษาอยู่ประมาณ 500 คน[397]

ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศจีนเข้าสู่ท่าอากาศยานหลักเจ็ดแห่งของประเทศอินเดีย ต้องเดินผ่านเครื่องตรวจจับความร้อน[398][399]

วันที่ 24 มกราคม มีรายงานผู้ต้องสงสัยจำนวนสองราย ซึ่งกำลังเข้ารับการรักษาอยู่ในมุมไบ[400] ​ณ วันที่ 28​ กรกฎาคม​ ​จำนวนผู้เสียชีวิตในอินเดียมากถึง 33,448 ราย ผู้ติดเชื้อ 1,482,503 ราย

อินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซียได้ทำการติดตั้งเครื่องตรวจอุณหภูมิที่เกตและท่าเรือโดยกระทรวงอนามัย และยังมีการจัดเตรียมห้องกักโรคที่โรงพยาบาลกว่า 100 แห่ง

อินโดนีเซียประกาศห้ามทุกเที่ยวบินที่เดินทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้า รวมถึงออกจากประเทศ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป และยังยกเลิกการให้ฟรีวีซ่าและวีซ่าเมื่อมาถึงกับบุคคลสัญชาติจีนด้วย และยังห้ามผู้ที่อยู่หรือพำนักในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันเข้าหรือผ่านประเทศอินโดนีเซีย[401]

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ชาวอินโดนีเซียจำนวน 9 คนที่เดินทางไปบนเรือไดมอนด์พรินเซสมีผลการทดสอบการติดเชื้อเป็นบวก ขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียเตรียมส่งลูกเรือที่เหลือ 68 คนจาก 188 คนจากเรือเวิลด์ดรีม ไปยังเกาะเซอบารูเคกิล ซึ่งเป็นเกาะที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ในบรรดาหมู่เกาะนับพัน[402][403][404]

วันที 2 มีนาคม ทางการอินโดนีเซียได้ยืนยันติดเชื้อว่าพบผู้ป่วย ชาวอินโดนีเซียที่เดินทางกลับมาจากประเทศจีน

ณ วันที่ 28​ กรกฎาคม​ ​อินโดนีเซียมีผู้เสียชีวิต 4,838 ราย ผู้ติดเชื้อ 100,303 ราย

อิรัก

​ณ วันที่ 28 ​กรกฎาคม​ ​ประเทศอิรักมีผู้ป่วยรวม 112,585 ราย และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 4,458 ราย[405]

อิหร่าน

ประเทศอิหร่านเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของโลกในทวีปเอเซีย

โดยเจอผู้ติดเชื้อรายแรกที่เมืองกอม (Qom City) ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 28 ​กรกฎาคม​ ​พบผู้ติดเชื้อ 293,603 ราย[406] ประเทศอิหร่าน มีผู้เสียชีวิต 15,912 ราย

โอมาน

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ มีการยืนยันผู้ป่วยโคโรนาไวรัสสองรายแรก เป็นหญิงชาวโอมานสองคนที่กลับมาจากประเทศอิหร่าน[407][408]​ณ วันที่ 28 ​กรกฎาคม​ ​มีผู้เสียชีวิตรวม 393 ราย ผู้ติดเชื้อ 77,058 ราย

อิสราเอล

​ณ วันที่ 28 กรกฎาคม​ ​ป​ระเทศอิสราเอลมีผู้เสียชีวิต 474 ราย ติดเชื้อ 63,985 ราย

ฮ่องกง

วันที่ 26 พฤษภาคม​ ศูนย์ปกป้องอนามัยฮ่องกงพบผู้ป่วยรวม 1,206 คน ในฮ่องกง และผู้เสียชีวิต 7 คน[409][410][411]​ณ วันที่ 28 กรกฎาคม​ ฮ่องกง มีผู้เสียชีวิต 22 ราย ติดเชื้อ 2,779 ราย

โอเชียเนีย

ศูนย์กลางการแพร่ระบาดของโอเซียเนียได้แก่ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์​ และ​ ประเทศปาปัวนิวกินี

ณ วันที่ 28 กรกฎาคม จำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 20 ราย พบใน 5 ประเทศ คือ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศฟิจิ ประเทศปาปัวนิวกินี เฟรนช์พอลินีเชียนิวแคลิโดเนีย

​ณ​ ​28 ​​​กรกฎาคม โอเชียเนียมีผู้เสียชีวิตรวม​ 183 ราย ติดเชื้อรวม 16,664 ราย

ประเทศที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย มี สองประเทศได้แก่ประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์

ประเทศออสเตรเลีย

แผนที่การแพร่ระบาดในประเทศออสเตรเลีย
(ณ วันที่ 9 เมษายน​ 2563):
  มีรายงานยืนยันผู้ป่วย

วันที่ 25 มกราคม มีการยืนยันผู้ป่วยรายแรก เป็นชายอายุราว 50 ปี ซึ่งเดินทางจากเมืองกว่างโจวมายังเมลเบิร์นในวันที่ 19 มกราคม ผ่านสายการบินไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ CZ321 เขาเข้ารับการรักษาตัวที่ศูนย์การแพทย์โมนาชในเมลเบิร์น[412][413] จากนั้นมีการประกาศว่ามีผู้ป่วยอีกสามรายที่มีผลการทดสอบเป็นบวกในรัฐนิวเซาท์เวลส์[414][415] ต่อมามีการเฝ้าสังเกตอาการอีกหกราย และมีการยืนยันว่าจะเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลหลังจากเพิ่งเดินทางกลับมาจากนครอู่ฮั่น จากในหกราย มีผู้ต้องสงสัยถึงสองรายที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัส ส่วนที่เหลืออีกสี่รายอาจถูกสงสัยว่าติดเชื้อไวรัส[416]

หัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ออสเตรเลีย ระบุว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางชีวภาพ จะเริ่มคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางมาถึงในสามสัปดาห์โดยเที่ยวบินจากอู่ฮั่นถึงซิดนีย์ ในวันที่ 23 มกราคม ผู้โดยสารจะได้รับแผ่นพับข้อมูล และข้อให้แสดงตัวหากมีไข้หรือต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อโรค[417]รัฐแทสเมเนีย มีผู้เสียชีวิต 13 ราย

วันที่ 28 กรกฎาคม​ มีผู้เสียชีวิต​ 161 ราย ผู้ติดเชื้อ 14,935 ราย

ประเทศนิวซีแลนด์

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พบผู้ป่วยรายแรกกลับมาจากประเทศอิหร่าน[418]วันที่ 25 มีนาคม ประเทศนิวซีแลนด์ พบผู้ติดเชื้อ 205 ราย รักษาหายแล้ว 22 ราย ส่งผลให้นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน[419] 29 มีนาคม พบผู้เสียชีวิตรายแรก[420]วันที่ 28 กรกฎาคม​ ประเทศนิวซีแลนด์​มีผู้เสียชีวิต 22 ราย ​ผู้ติดเชื้อ 1,556 ราย

หมู่เกาะแชทัม​ และ เกาะสจวร์ต​ไม่พบผู้ติดเชื้อ

ประเทศฟิจิ

ประเทศฟิจิ​ วันที่ 31 กรกฎาคม​พบผู้ติดเชื้อ 27 ราย เสียชีวิต 1 ราย

ประเทศปาปัวนิวกินี

ประเทศปาปัวนิวกินี วันที่ 31 กรกฎาคมพบผู้ติดเชื้อ 72 รายเสียชีวิต 2 ราย

แอฟริกา

ณ วันที่ 28 กรกฎาคม จำนวนผู้เสียชีวิตที่มากกว่า 100 ราย มีทั้งหมด 15 ประเทศ จำนวนผู้เสียชีวิตเท่ากับหรือมากกว่า 50 ราย มีจำนวน 30 ประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อพบทั้งทวีปแอฟริกา

ศูนย์กลางการแพร่ระบาดอยู่ที่ ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศอียิปต์ และ ประเทศแอลจีเรีย

ประเทศอียิปต์​

แผนที่การแพร่ระบาดในประเทศอียิปต์
(ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563):
  มีรายงานยืนยันผู้ป่วย
  มีการรายงานผู้ต้องสงสัย

ประเทศอียิปต์วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 อียิปต์ได้ยืนยันติดเชื้อผู้ป่วย มีผู้ชายชาวจีนอายุ 30 ปี ใด้เดินทางมาจาก ประเทศจีน ต้องหา ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เป็นบวก ทำไห้ชาวอียิปต์ถูกติดเชิ้อโควิด-19 ต้องสั่งไปเข้าโรงพยาบาลในไคโร

วันที่ 25 มีนาคม 2563 สายการบินอียิปต์แอร์ ถูกยกเลิกเที่ยวบินแล้ว ต่อมา วันที่ 12 เมษายน 2563 สนามบินแห่งไคโรได้ปิดทำการ อียิปต์ได้ประกาศปิดแดนทะเลซาอุดีอาระเบีย ณ วันที่​ 28 กรกฎาคม​ มี​ผู้เสียชีวิต 4,652 ราย ผู้ติดเชื้อ 92,482 ราย

ประเทศแอลจีเรีย

ณ​ ​28 กรกฎาคม​ ​มีผู้เสียชีวิต 1,163 ราย มีจำนวนผู้ติดเชื้อ​ 27,973 ราย

ประเทศโมร็อกโก

ณ​ ​วันที่​ 28 กรกฎาคม​ ​มีผู้เสียชีวิต 317 รายจำนวนมาก เป็นอันดับที่ 7 ของทวีป จำนวนผู้ติดเชื้อ 20,887 ราย

ประเทศแอฟริกาใต้

ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นประเทศพบผู้ป่วยรายแรก 25 กุมภาพันธ์

ณ​ 28 ​กรกฎาคม​ ​ผู้ติดเชื้อ 452,529 ราย ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดในทวีปแอฟริกา มีผู้เสียชีวิต 7,067 ราย ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดในทวีปแอฟริกา

ประเทศไนจีเรีย

ณ​ วันที่ 28 กรกฎาคม ป​ระเทศไนจีเรียมีผู้เสียชีวิต 860 ราย ผู้ติดเชื้อ 41,180 ราย

ประเทศแคเมอรูน

ณ​ 28 กรกฎาคม​ ​ประเทศแคเมอรูน มีรายงานผู้เสียชีวิต 391 รายม ผู้ติดเชื้อ 17,110 ราย

ประเทศซูดาน

ณ​ วันที่​ 28 ​กรกฎาคม​​ ประเทศซูดาน​มีผู้เสียชีวิต 720 ราย ผู้ติดเชื้อ 11,424 ราย

ใกล้เคียง

การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 เรียงตามประเทศและดินแดน การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศทาจิกิสถาน พ.ศ. 2563 การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศแทนซาเนีย พ.ศ. 2563 การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศซาอุดีอาระเบีย พ.ศ. 2563 การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศบังกลาเทศ พ.ศ. 2563 การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในทวีปยุโรป พ.ศ. 2563 การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศเกาหลีเหนือ พ.ศ. 2563 การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสค์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 เรียงตามประเทศและดินแดน http://mcp.gov.ba/?lang=en http://covid19tracker.gov.bd/ http://www.moh.gov.bn/SitePages/pressreleaseCOVID-... http://www.sante.gouv.cg/ http://covid19.minsante.cm/ http://www.nhc.gov.cn/yjb/s7860/202008/be2083249fb... http://www.ins.gov.co/Noticias/Paginas/Coronavirus... http://gismoldova.maps.arcgis.com/apps/opsdashboar... http://covid19zw.com/ http://www.seychellesnewsagency.com/articles/13326...